นายธีระพงษ์ อินทสโร
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12
ประวัติ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12 เดิมชื่อโรงเรียนวัดสุคนธาวาส เปิดเมื่อ พ.ศ. 2482 โดยมีกำนันเฟื่อง หนูศรีแก้ว เป็นผู้ริเริ่ม มีนายจัด พลวิชัย เป็นครูใหญ่คนแรก
พ.ศ. 2505 เกิดวาตภัยทางภาคใต้ โรงเรียนได้รับความเสียหาย พ.ศ. 2506 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานงบประมาณส่วนพระองค์ จำนวน 400,000 บาท สร้างอาคารพระราชทาน 009 จำนวน 1 หลัง 10 ห้องเรียน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12
พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12
พ.ศ. 2540 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้จัดงบประมาณพิเศษเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติปีกาญจนาภิเษก ในหลวงครองราชย์ครบ 50 ปี เพื่อพัฒนาอาคารเรียน อาคารประกอบ วัสดุครุภัณฑ์ จำนวน 10 ล้านบาท
พ.ศ. 2548 ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคระกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12 ขยายโอกาสเปิดชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามคำสั่ง สพฐ.ที่ 339/2548 ลงวันที่ 1 เมษายน 2548
ปัจจุบันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12 จัดการศึกษา 3 ระดับ ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น
วิสัยทัศน์
“สร้างองค์กรชั้นนำอย่างมีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
ให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุด”
ปรัชญา
“การศึกษาช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือชีวิตที่สมบูรณ์ (UTOPIA)”
พันธกิจ
1. พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ทีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
3. ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากร จัดการเรียนการสอนและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (S.B.M.)
5. พัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
6. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักและจิตสำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
1. ผู้เรียนทุกระดับมีคุณภาพตามมาตรฐานระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับดี
2. ครูและบุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ
3. ชุมชนมีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
4. ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม